Home News Cryptocurrncy สรรพากร แจกแจงวิธีการ How to เสียภาษี ละเอียดยิบ !

สรรพากร แจกแจงวิธีการ How to เสียภาษี ละเอียดยิบ !

335
สรรพากร

กรม สรรพากร เผยแพร่คู่มือคําแนะนํา การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “คริปโตเคอร์เรนซี” / “โทเคนดิจิทัล” ความยาว 32 หน้ากระดาษ บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรมสรรพากร

คู่มือดังกล่าวมีการชี้แจงวิธีการคำนวณเงินได้ (รายได้ที่เกิดจากสินทรัพย์ดิจิทัล)ที่เกี่ยวข้องกับ “คริปโตเคอร์เรนซี” (Crypto Currentcy)และ “โทเคนดิจิทัล”(Token Digital) ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สายเทรด , สายขุด , สาย DCA , สายฟาร์ม หรือแม้แต่สายฟรี! เมื่อมีรายได้จาก สินทรัพย์ดิจิทัล ก็พึงมีหน้าที่เสียภาษีให้ถูกต้องเรียกได้ว่าครอบคลุมทุกด้านทุกแง่มุม การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (รายอะเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ใน คู่มือฉบับเต็ม)

หากคุณมีกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับ “สินทรัพย์ดิจิทัล” ในลักษณะเช่นนี้
1. การจำหน่าย-จ่าย-โอน หรือ แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล (Trading)
2. การขุดคริปโทเคอร์เรนซี (Mining)
3. การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง
4. การได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล
5. ได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครอง (investor)
5.1 โทเคนดิจิทัล
5.2 คริปโทเคอร์เรนซี

สรรพากร มี วิธีการ จัดประเภทของสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างไร?อ้างอิงตาม “คู่มือสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับผู้ลงทุน” ที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฯ โดยให้คำนิยามและ แจกแจงรายละเอียดของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” ไว้ดังนี้ว่า

คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ สินทรัพย์ดิจิทัลอื่น หรือสิทธิอื่นใด โดยสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ หากผู้ใช้ยอมรับ ปัจจุบันคริปโทเคอร์เรนซียังไม่ใช่เงินที่ธนาคารกลางใดในโลกรับรองว่าสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (legal tender) คริปโทเคอร์เรนซีที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น Bitcoin , Ethereum

โทเคนดิจิทัล (Digital Token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในส่วนแบ่งรายได้หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าและบริการ หรือสิทธิอื่น ๆ (utility token) ตามที่ได้ตกลงกับผู้ออกโทเคน ซึ่งอาจเสนอขายโทเคนผ่านกระบวนการ Initial Coin Offering (ICO)การระดมทุนแบบ ICO (Initial Coin Offering) คือการระดมทุนรูปแบบหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยี BlockChain เข้ามาช่วย โดยบริษัทจะเสนอและ กำหนดขายโทเคนที่กำหนดสิทธิหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้ลงทุน เช่น ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ หรือสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือ บริการที่เฉพาะเจาะจงและกำหนดให้ผู้ลงทุนที่ต้องการจะร่วมลงทุนสามารถเข้าร่วมได้โดยการนำคริปโทฯ หรือเงิน มาแลกโทเคน ฯ

ที่มาของภาษีคริปโทเคอร์เรนซี และทำไมกรมสรรพากร ต้องเก็บภาษี ?เงินที่เป็นรายได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน {ตามมาตรา 40 {8} }แห่งประมวล รัษฎากรอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้มีกำไรจากการขายคริปโทเคอร์เรนซี จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นเพียงการจัดประเภทเงินได้ใหม่

จากเดิมเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 {8} ไปเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 {4}เพื่อให้สะท้อนลักษณะของเงินได้ เนื่องจากเงินได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซี มีลักษณะเป็น “เงินที่ได้รับจากการลงทุน” ภายหลังจากออกพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว กรมสรรพากรก็ได้ ประชาสัมพันธ์ประเด็นนี้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีไม่ได้รับโทษในภายหลังอันเนื่องจากการไม่ปฏิบัติ ตามหน้าที่ทางภาษีอย่างถูกต้อง

วิธีการคำนวณภาษีคริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ โดยคู่มือการเสียภาษีนี้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอ่านเพื่อทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมกันได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรมสรรพากร

Facebook Comments Box